Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

Magento แอปฯ พัฒนาเว็บ E-Commerce บน Cloud Thai

เว็บไซต์ E-Commerce เป็นชาแนล ที่หลายๆ แบรนด์ธุรกิจเลือกใช้งานสำหรับสื่อสารและทำแบรนด์ ซึ่งความสำคัญของเว็บไซต์ก็เปรียบเสมือนการสร้างร้านค้าที่มีความสวยงามและสะดวก แต่อยู่ในรูปแบบของสื่อออนไลน์ ซึ่งก็มีหลายโปรแกรมสำหรับการเริ่มต้นทำ เว็บไซต์ E-Commerce หนึ่งในแพลตฟอร์มที่มีความสะดวก คือ Magento  

  

สำหรับการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce มักจะมีปัจจัยแวดล้อมหลายๆ รูปแบบ ทำให้การพัฒนาและ Run ระบบส่วนใหญ่ นักพัฒนาจะใช้งาน Cloud Computing ซึ่ง Cloud Thai ในปัจจุบันก็มีประสิทธิภาพ ความเร็ว และมีมั่นคงในการ Run ระบบอย่างต่อเนื่อง  

  

Magento คืออะไร?  

  

Magento เป็นชาแนลจัดการข้อมูลบนเว็บไซต์แบบ Content Management System (CMS) ในการพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีคุณสมบัติการใช้งานที่ครบถ้วน โดยใช้ภาษา PHP ทำให้ผู้ใช้งานสามารถพัฒนาเว็บไซต์ได้ตั้งแต่ จัดหมวดหมู่สินค้า, อัปเดตจำนวนสินค้าในคลัง, ระบบชำระเงิน, การจัดส่ง, ระบบโปรโมชัน ซึ่งโปรแกรมไม่ใช่โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์สำเร็จรูป ผู้ใช้งานต้องเขียน คำสั่ง ขึ้นมา ทำให้มีความยืดหยุ่นในการสร้าง และไม่มีความตายตัวในการออกแบบ แต่ยังคงมีฟังก์ชันที่อำนวยความสะดวกให้การสร้างเว็บไซต์ที่ง่ายดายมากขึ้น  

  

Magento ใช้งานอย่างไร?  

  

สำหรับการใช้งาน Magento มีการใช้งาน 2 รูปแบบ คือ  

  

  1. โปรแกรมRunบนคอมพิวเตอร์

  2. ใช้งานบนCloud Computing 

  

การใช้งานบนคอมพิวเตอร์นั้นก็เหมือนการใช้งานแอปฯทั่วไปที่ผู้ใช้งานต้องติดตั้งโปรแกรม แต่ด้วยการทำงานบนคอมพิวเตอร์ที่มีข้อจำกัดเรื่องของ Hardware ตั้งแต่ขั้นตอนการพัฒนา ไปจนถึง การ Run ระบบเว็บไซต์ E-Commerce เนื่องจากข้อมูลจำนวนมหาศาลบนเว็บไซต์ รวมถึงความมั่นคงในการทำงาน ทำให้ส่วนใหญ่คนเลือกใช้งาน Magento บน Cloud Computing กันมากกว่า  

  

Magento บน Cloud Thai ดีกว่าอย่างไร? 

  

Magento เป็นแพลตฟอร์มสร้างเว็บไซต์ E-Commerce ที่มีความโดดเด่นแล้วได้รับความนิยม ซึ่งการทำให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่สูงที่สุด ต้องมีทรัพยากรบนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service) บน Cloud Computing ที่เหมาะสม ซึ่ง Cloud Thai สามารถสร้างการทำงานได้มากกว่า Cloud Global อย่างแน่นอน เนื่องจากมี เครือข่ายการทำงาน ที่รวดเร็วกว่า นั่นทำให้การทำงานมีความรวดเร็วและประสิทธิภาพสูงขึ้น 

  

Cloud Thai นั้นมีสภาพแวดล้อมที่ยืดหยุ่นและเหมาะสม สามารถเพิ่ม-ลดขนาดของทรัพยากร Cloud Server ได้ทันที ตอบสนองกับการทำงานที่มีขนาดใหญ่ หรือการเพิ่มขึ้นของข้อมูลบนเว็บไซต์ รวมถึงมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบและให้การดูแลอย่างต่อเนื่องตลอดการใช้งานอีกด้วย  

  

ทำไมต้องใช้งาน Cloud Thai บน NIPA.Cloud 

  

Magento เป็นแพลตฟอร์มที่ต้องการสภาพแวดล้อมบนระบบที่มีความเสถียร ซึ่ง NIPA.Cloud สามารถสร้างประสิทธิภาพได้เหนือกว่า  

  

  1. เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน 

  

NIPA.Cloud มีฟังก์ชันการทำงานให้ผู้ใช้งานสามารถสร้าง Magento ได้อย่างรวดเร็ว ด้วยฟังก์ชัน Marketplace cloud พร้อมกับสภาพแวดล้อมในการรองรับปริมาณข้อมูล รวมถึงคุณสมบัติที่รองรับการใช้งานที่มีประสิทธิภาพบน Cloud Server ที่ช่วยลดความซับซ้อนของระบบ IT และมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ อยู่เสมอ ทำให้ระบบเครือข่ายและข้อมูลของผู้ใช้ทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบน Cloud Computing ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem  

  

  1. แพ็คเกจที่เหมาะสมสำหรับSMEs จนถึงระดับ Enterprise  

  

NIPA.Cloud มีอุปกรณ์และทรัพยากรที่ธุรกิจสามารถปรับขนาดได้อย่างยืนหยุ่น ที่สามารถควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-use ทำให้เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบ On-prem มีต้นทุนที่ต่ำกว่า นอกจากนี้ยังรองรับการ Migrate-to-Cloud หรือการย้ายระบบมายัง Cloud Server อีกด้วย  

  

ทำให้ผู้ใช้งานสามารถปรับเปลี่ยน Instance Cloud ได้ตามต้องการและมีการอัปเดตอย่างต่อเนื่อง ตอบสนองการทำงานที่รวดเร็ว มีคุณภาพ ประสิทธิภาพ และความเสถียรต่อการทำงานบน Cloud Server  

  

  1. การปรับใช้และกำหนดค่าWorkflow ได้อย่างต่อเนื่อง  

  

การทำงานบน Cloud Computing ที่มีสภาพแวดล้อมที่ตอบโจทย์ของธุรกิจทุกระดับ ตั้งแต่ Instance Cloud, Network และ Storage ที่สามารถปรับใช้ได้และมีการใช้งานที่ง่าย สะดวก ทำให้ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยน คืนค่า และกำหนดค่าได้อย่างอิสระ สามารถควบคุมการพัฒนา Magento ได้อย่างต่อเนื่องไม่มีสะดุด  

3.1 เพิ่ม-ลดทรัพยากรได้ทุกเมื่อ  

3.2 สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น  

3.3 เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้  

  

  1. เพิ่มความปลอดภัยด้วยCloud Firewall บน Magento  

  

Magento บน Cloud มีระบบรักษาความปลอดภัย ด้วยความยืดหยุ่นและประสิทธิภาพของ Cloud ทำให้ระบบมีความปลอดภัย ด้วยมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีทีมงานดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงมี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น  

  

NIPA.Cloud มีระบบความปลอดภัยบน Cloud ที่หลากหลาย ตั้งแต่ Cloud Firewall ในการจัดการอนุญาตการใช้งาน port บน Instance Cloud รวมถึงรองรับการทำงานแบบ หลาย โปรเจก เพื่อสะดวกต่องานที่เป็นลักษณะ project ย่อยๆ เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยให้กับผู้ใช้งาน รวมถึงมีฟังก์ชันความปลอดภัยอื่นๆ เช่น Keypair, External IP และ VPC Network เป็นต้น  

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

ทำไมต้องใช้ Cloud Computing

Cloud Computing

Cloud Computing หรือระบบการประมวลผลและหน่วยจัดเก็บข้อมูลรูปแบบออนไลน์ที่ช่วยลดความยุ่งยากในการติดตั้ง ดูแลระบบ และลดต้นทุนในการสร้างระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดยมีบริการทั้งรูปแบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Cloud), เครือข่ายสาธารณะ (Public Cloud) และใช้งานเครือข่ายแบบผสมผสาน (Hybrid Cloud)

 

เข้าใจง่ายๆ Cloud Computing คือการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ หรือซอฟต์แวร์แบบออนไลน์จากผู้ให้บริการที่แตกต่างกัน ซึ่งสามารถใช้งานได้อย่างสะดวกผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต รวมถึงสามารถกำหนดทรัพยากรของคอมพิวเตอร์ได้อย่างอิสระตามความต้องการ และประหยัดต้นทุนด้วยระบบคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงนั่นเอง

 

ประเภทของ Cloud Computing

 

  1. Public Cloud เป็นระบบคลาวด์ที่ผู้ใช้งานทั่วไปสามารถเข้ามาใช้งานทรัพยากรในการสร้างเครือข่าย หรือระบบคอมพิวเตอร์ โดยสามารถใช้งานได้ทั้ง Hardware และ ซอฟต์แวร์ ซึ่งรูปแบบบริการก็จะมีความแตกต่างกันออกไปของแต่ละผู้ให้บริการคลาวด์ ทั้งนี้จะมีการคิดค่าบริการแบบตามการใช้งานจริงเป็นรายชั่วโมง

 

  1. Private Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบปิดที่มีเฉพาะคนในองค์กรสามารถเข้าถึงทรัพยากรได้ โดยที่ระบบข้อมูลและ Software จะการจัดเก็บและป้องกันที่ปลอดภัยบน Data Center ของผู้ให้บริการ ซึ่งองค์กรสามารถใช้งานหรือปรับเปลี่ยนระบบได้อย่างอิสระ

 

  1. Hybrid Cloud เป็นระบบคลาวด์แบบผสมผสานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud ซึ่งดึงข้อดีของทั้งสองระบบออกมาใช้งาน เพื่อให้องค์กรสามารถทำงานบนระบบ Cloud Computing ได้อย่างสมบูรณ์แบบ เช่น ใช้งาน Private Cloud ในการรัน Software และเก็บข้อมูลภายในองค์กร แต่ใช้ Public Cloud ในการรัน เว็บไซต์ รวมถึงรองรับการทำงานช่วงที่มี Workload จำนวนมาก

 

รูปแบบการใช้งาน Cloud Computing

 

  1. SaaS (Software-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของ Software โดยผู้ใช้งานสามารถสร้างและใช้ Software ตัวนั้นได้ผ่าน Internet ซึ่งไม่จำเป็นต้องติดตั้งบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่วนตัว

 

  1. IaaS (Infrastructure-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของระบบโครงสร้างพื้นฐาน เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรของคลาวด์ในการสร้างระบบคอมพิวเตอร์หรือเครือข่ายแบบเสมือน (Virtualization) ของตัวเองขึ้นมา ซึ่งไม่จำเป็นต้องซื้อหรือติดตั้ง Hardware ปริมาณมากเป็นของตัวเอง

 

  1. PaaS (Platform-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของแพลตฟอร์ม โดยผู้ใช้งานสามารถใช้งาน Hardware และ Software ได้อย่างอิสระ ไม่ยุ่งยาก สามารถใช้งานได้ทันที

 

  1. DRaaS (Disaster Recovery-as-a-Service) เป็นการใช้งานคลาวด์ในรูปแบบของการกู้คืนข้อมูลเมื่อเกิดภัยพิบัติ โดยเมื่อเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด เช่น ภัยธรรมชาติ, เหตุการณ์ทางการเมือง หรือ เหตุขัดข้องที่ทำให้ ฐานข้อมูล ไม่สามารถทำงานได้ ระบบก็จะมีการโอนย้ายการทำงานไปยังระบบการทำงานสำรองแบบอัตโนมัติ ทำให้ระบบเครือข่ายขององค์กรสามารถทำงานได้ต่อเนื่อง

 

เหตุผลที่องค์กรควรติดตั้ง DR หรือ Site สำรอง เนื่องจากมีการระบุไว้ตามกฎหมายว่าบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ต้องมี Site สำรอง รวมถึงมีมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยต่อข้อมูลขององค์กรและผู้ใช้งาน แต่การลงทุนทำ Site สำรองหรือ DRaaS นั้น มีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก การใช้งานคลาวด์จึงสามารถตอบโจทย์การใช้งานที่มีราคาถูกกว่าได้ รวมถึงสามารถใช้งานบริการอื่นๆ จากคลาวด์ได้ เช่น Data Base-as-a-Service (DBaaS), Mobile Back-End-as-a-Service (MBaaS), Functions-as-a-Service (FaaS)

 

ความปลอดภัยของการใช้งาน Cloud Computing

 

อย่างที่กล่าวมาในข้างต้นแล้วว่าข้อดีของการใช้งาน Cloud Computing คือสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ค่าใช้จ่ายน้อย แต่อีกหนึ่งเรื่องที่ผู้คนมักตั้งคำถามเป็นเรื่องของ ความปลอดภัยของข้อมูล

 

แน่นอนว่าการเก็บข้อมูลไว้บน Cloud Computing นั้นมีความรวดเร็ว สะดวก ซึ่งก็มีการดูแลเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลแก่ผู้ใช้งานอีกด้วย แม้กระทั่งในตัวของ Public Cloud ที่เป็นคลาวด์สาธารณะ แต่ก็มีระบบรักษาความปลอดภัย อย่างเช่น Keypair, VPC หรือระบบการตั้งค่า Network นอกจากนี้หากผู้ใช้งานเป็นระดับองค์กรก็สามารถใช้งาน Private Cloud ที่มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากองค์กรสามารถจัดการทรัพยากรทั้งหมดได้ด้วยตัวเอง หากต้องการใช้งานที่คล่องตัวที่สุดก็คือ Hybrid Cloud ที่รวมเอาข้อดีของการใช้งานทั้ง Public Cloud และ Private Cloud รวมกัน

 

ใช้งาน Cloud Computing คุ้มกว่าอย่างไร

 

1.Cost Savings

ควบคุมทรัพยากรเองได้ โดยคิดค่าบริการแบบ Pay-as-you-use ใช้เท่าไหร่จ่ายเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการทำงานแบบ On-prem ต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการติดตั้ง Hardware และดูแลระบบ รวมถึงการจ้างเจ้าหน้าที่ในการดูแลอีกด้วย

 

2.Security

มีความปลอดภัยสูง เนื่องจากผู้ให้บริการในปัจจุบันมีการยกระดับมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล รวมถึงบริการการดูแลอื่นๆ เช่น มีเจ้าหน้าที่บริการตลอด 24 ชั่วโมง, มี Data Center ที่ได้รับการรับรองและมีมาตรฐาน ISO/IEC เป็นต้น

 

3.Flexibility

สามารถเลือกใช้ทรัพยากรได้หลากหลายตามความต้องการ เช่น หน่วยการประมวลผล (Processing Unit), เครือข่ายข้อมูล (Network), ระบบเก็บข้อมูล (Storage) หรือระบบปฏิบัติการ (OS) เป็นต้น 

 

4.Mobility

เข้าถึงง่าย เชื่อมต่อได้ทุกที่ทุกเวลาเพียงแค่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้

 

5.Reduce Complexity

ลดความซับซ้อนของระบบ IT การดูแลระบบ Infrastructure ขององค์กร เช่น ระบบไฟฟ้า, การเชื่อมต่ออุปกรณ์, การบำรุงรักษา เป็นต้น แต่ผู้ใช้งานสามารถใช้งานทรัพยากรทั้ง Hardware และ Software บนคลาวด์ได้ทันที

 

6.Automatic Software Updates

การทำงานบนคลาวด์จะมีการอัปเดตทั้ง Hardware และ Software ตลอดเวลา

 

7.Sustainability

ระบบเครือข่ายและข้อมูลของผู้ใช้งานทั้งหมดถูกจัดเก็บอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ระบบของผู้ใช้ที่สร้างขึ้นบนคลาวด์ไม่มีวันหมดอายุ จนกว่าจะไม่มีการใช้งาน ซึ่งมีความยั่งยืนที่มากกว่าระบบแบบ On-Prem 

 

สำหรับบริการ Cloud Computing รูปแบบต่างๆ Nipa.Cloud เราสามารถให้บริการได้ทั้ง Public Cloud และ Private Cloud สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ สามารถใช้งานได้ง่ายและได้รับประสิทธิภาพสูงสุด ด้วยซอฟต์แวร์ NCP ที่มีระบบ Billing แบบ Pay-As-You-Go พร้อม Data Center ของเราเองที่ได้รับมาตรฐาน ISO/IEC 27001:2013, ISO/IEC 29110 และรางวัลระดับสากล PM Export Award 2019, 2019 BEST INTELLECTUAL PROPERTY AWARD รวมถึงการได้รับสิทธิบัตรยกเว้นภาษีเป็นเวลาถึง 8 ปี จาก BOI

Cloud Servers?

ทุกวันนี้เราจะเห็นได้ว่า เทคโนโลยีของ Cloud หรือ Cloud Computing ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ในอนาคตจะมีการเอา Cloud Computing ไปประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ จึงทำให้หน่วยงานหลายๆหน่วยงาน เริ่มให้ความสนใจกับระบบ Cloud มากขึ้น

คลาวด์ หรือ Cloud Computing คือการทำงานของ Server ขนาดใหญ่ ที่ทำงานด้วย Sever หลายๆ เครื่อง โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล เป็นการร่วมกันทำงานของ Server หลายๆ เครื่อง มีผลดีคือเมื่อ Server ใด Sever หนึ่งเกิดความเสียหายขึ้นก็จะไม่ส่งผลกับการใช้งานของผู้ใช้บริการ เพราะระบบจะทำการย้ายไปทำงานในเครื่องใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งก็แสดงถึงความปลอดภัยของข้อมูลของผู้ใช้บริการนั่นเอง

 

ข้อดีของบริการ Cloud Server มีดังนี้

ความยืดหยุ่น : สามารถดึงทรัพยากรเพิ่มเติมมาใช้ได้เมื่อต้องการ

คุ้มค่าใช้จ่าย : คิดค่าบริการเมื่อมีการใช้งาน ผู้ใช้บริการจ่ายค่าบริการตามจำนวนค่าใช้งานจริงในแต่ละช่วงเวลาเท่านั้น

ติดตั้งง่าย : Cloud Server ไม่มีการตั้งค่าเริ่มต้นที่วุ่นวายมากนัก

เชื่อถือได้ : เพราะมี Server สำหรับให้บริการอยู่หลายตัว ถ้าตัวไหนเกิดมีปัญหาขึ้นมา แหล่งทรัพยากรก็จะย้ายไป Server อื่นทันทีโดยไม่กระทบต่อการใช้งานของผู้ใช้บริการ

ซึ่งในปัจจุบัน Cloud ได้เริ่มเข้ามามีบทบาทในการใช้งาน Web Hosting มากขึ้น อาจเป็นเพราะ Cloud สามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในด้านการลงทุนซื้อ Server ได้ สามารถเลือกจ่ายค่าบริการเท่าที่ทางองค์กรเลือกใช้ และยังมีบริการให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตัวอย่างเช่น Web Site , VM หรือ VPS , Mobile Service , Storage , Etc.

 

Open Stack Administrator

เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อใครหลายๆ คนในโลกปัจจุบันนี้ ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการใช้ชีวิตประจำวันของมนุษย์ ไม่ว่าจะทำงาน กิน หรือเรียน ทุกอย่างดูทันสมัยเมื่อโลกออนไลน์เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และมีอิทธิพลต่อผู้ใช้งานจำนวนมาก ที่มาแรงในปี 2017 นี้ ที่เราเรียกว่า Open Stack หรือซอฟแวร์ที่ได้เข้ามาสู่องค์กรหรือบริษัทมากขึ้นเข้ามาพัฒนาและทำองค์กรเป็นระบบ  ที่ตอบโจทย์ความต้องการขององค์กร และการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าต่างๆ ซึ่งทำหน้าที่บริหารจัดการทรัพยากรให้มีประสิทธิในการทำงานมากขึ้น

ในส่วนของ Open Stack Administrator หรือเรียกง่ายๆก็คือ ผู้ดูแลระบบ Open Stack นั่นเอง ได้มีการเปิดคอร์สสอนจำนวนมาก เพราะ Open Stack Administrator มีส่วนสำคัญอย่างมากทั้งการสร้าง ดูแล และใช้งานระบบ Open Stack ให้สามารถใช้งานได้ในองค์กรมากขึ้น ในความเป็นจริง Open Stack มีความหลากหลายสามารถนำไปใช้ได้หลายกรณี ถึงแม้จะเป็นเทคโนโลยีใหม่ แต่อีกไม่นานจะเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยแน่นอนค่ะ

โดยเฉพาะในทางงธุรกิจที่เกี่ยวกับเทคโนโลยี และธุรกิจที่เป็นองค์กรใหญ่และมีสาขาจำนวนมาก ดังนั้นแต่ละองค์กรถึงเร่งพัฒนา Open Stack Administrator ให้มีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขปัญหา เรียนรู้ระบบได้อย่างรวดเร็ว ถ้าคุณคิดที่จะก้าวรับสิ่งๆใหม่ ลองผิดลองถูก คุณก็จะเป็นคนที่เป็นคนรอบรู้เท่าทันเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างแน่นอน

ลองไปลงเรียนรู้การใช้งานของ Open Stack แล้วคุณจะสามารถใช้งานได้อย่างง่ายดาย  ก้าวเข้าสู่ตลาดองค์กรอย่างเป็นระบบด้วย Open Stack จึงเปรียบเสมือนระบบ Cloud Computing ที่มีฟังก์ชั่นมากมายให้ได้ใช้งาน และเพิ่มความสะดวกสบายแก่องค์กร ที่สำคัญคือค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่ถูกกว่าค่ายอื่นๆ ทำให้ OpenStack เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

4 ค่าใช้จ่ายของ Private Cloud ที่ต้องระวัง!

Private Cloud ที่มาพร้อมภาระค่าใช้จ่ายที่ต้องคิดคำนวณอย่างรอบคอบ

1.ค่าออกแบบ Application ใหม่

Application แบบเดิมๆ อาจจะไม่เหมาะกับการใช้ในระบบ Cloud Computing โปรแกรมแบบเก่าบางตัวอาจจะรันการทำงานได้ไม่ดีเท่าที่ควร ต้องสำรวจก่อนว่ามีวิธีการอะไรบ้างที่จะนำ Application ของท่านไปวางไว้บน Cloud และค่าใช้จ่ายสูงเพียงใด

2.ปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรม

Private Cloud ขึ้นชื่อเรื่องความเสถียร พร้อมใช้งาน ยืดหยุ่น และมีการอัพเดทอยู่เสมอ ดังนั้นค่าใช้จ่ายต่างๆ ก็จะมาจากการปรับเปลี่ยนสถาปัตยกรรมและอุปกรณ์นี่เองล่ะ

3.การเพิ่มระบบทำงานอัตโนมัติ

ถึงจะเรียกว่าระบบอัติโนมัติ แต่มันก็ไม่ได้ทำงานได้เองทันทีโดยปราศจากการตั้งค่าจากทีม IT นอกจากนี้ยังต้องการการตรวจเช็คและ Update เป็นระยะ

4.การเปลี่ยนขั้นตอนการดำเนินธุรกิจ

บางครั้งการใช้งานจริงก็ไม่มีความคุ้มค่ามากพอให้เปลี่ยนมาใช้ระบบ Private Cloud ที่มาพร้อมกับค่าใช้จ่ายและภาระผูกพันในการปรับแต่งระบบ

รูปแบบการทำงานของ Cloud Hosting

Cloud Hosting เป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมมากขึ้นในยุคที่ทุกคนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งบริการนี้เป็นหนึ่งใน Service ที่ผู้ประกอบการหลาย ๆ ท่านไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาด ซึ่งนอกจากจะส่งผลดีต่อการทำงาน ยังลดค่าใช้จ่ายได้มากขึ้นด้วย

ถ้าพูดถึง Cloud Hosting แล้วหลาย ๆ คนอาจจะนึกถึงบริการ Host Website ต่าง ๆ ให้ใช้งานได้ตลอดเวลา แต่จริง ๆ แล้วนั่นเป็นเพียงส่วนหนึ่งของ Cloud Hosting เท่านั้น ซึ่งจริง ๆ แล้วมีหลากหลายแบบกว่านั้นมาก

รูปแบบการทำงานของ Cloud Hosting เป็น Virtual Data Center แบบหนึ่งที่เปิดให้บริการผ่านทางออนไลน์ ซึ่ง User นั้นต้องเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตเข้ามาเพื่อใช้งานด้วยกัน ซึ่งขนาดของ Cloud Hosting นั้นอาจใหญ่จนสามารถรองรับระบบทั้งหมดขององค์กรได้เพราะมี IaaS (Infrastructure-as-a-Service) เอาไว้รองรับอยู่แล้ว

ส่วนของ Application สำหรับทำงานจะเป็นส่วนของ PaaS (Platform-as-a-Service) ที่มี Software environment ครบถ้วนเพื่อให้รันการทำงานของ Application ต่าง ๆ ได้โดยไม่มีปัญหา ทำให้ Developer บางกลุ่มเลือกจะใช้ Cloud Hosting เพื่อ Host การทำงาน Application ที่พวกเขาใช้งานเพื่อสร้างและพัฒนา Web Application ใหม่ ๆ ได้ทดสอบการทำงานได้อย่างรวดเร็วอีกด้วย

กล่าวคือ Cloud Hosting จะมีความเกี่ยวข้องกับ Public Cloud อย่างเลี่ยงไม่ได้ นั่นเพราะระบบ Cloud Hosting จะดึงทรัพยากรออกมาจาก Pool ที่เป็น Shared Server เดียวกัน ซึ่ง User ที่ใช้ Cloud Hosting จะสามารถปรับแต่งให้ระบบกลายเป็นแบบ Private Cloud ได้เช่นกัน